pīn yīn สัทอักษรจีนกลาง


"พินอิน" หรือ "สัทอักษรจีนกลาง" (hàn yǔ pīn yīn, ฮั่นอวี่พินอิน) เป็นระบบการถ่ายถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรโรมัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียนตัวหนังสือจีน โดยจะคล้ายกับระบบประสมเสียงในภาษาไทย ที่มีทั้ง พยัญชนะ (shēng mǔ,เซิ้งหมู่) สระ (yùn mǔ, อวิ้นหมู่) และ วรรณยุกต์ (shēng diào, เซิ้งเตี้ยว)



























๑.พยัญชนะ ๒๑ เสียง
สัญลักษณ์เสียงแทนเสียง
bปอ(ปู+ออ)
pพอ(พู+ออ)
mมอ(มู+ออ)
fฟอ(ฟู+ออ)
dเตอ(ตื+เออ)
tเทอ(ทื+เออ)
nเนอ(นื+เออ)
lเลอ(ลื+เออ)
gเกอ(กื+เออ)
kเคอ(คื+เออ)
hเฮอ(คื+เออ)
jจี
qชี
xซี
zhจือ(ม้วนลิ้ันแตะเพดาน)จือ
chชือ(ม้วนลิ้นแตะเพดาน)ชือ
shซือ(ม้วนลิ้นแตะเพดาน)ซือ
rยรื(ม้วนลิ้นแตะเพดาน)ยรื
zจือ(ฟันหน้าขบกันเบาๆ)จือ
cชือ(ฟันหน้าขบกันเบาๆ)ชือ
sซือ(ฟันหน้าขบกันเบาๆ)ซือ
หมายเหตุ
๑.พยัญชนะกลุ่ม j q x ใช้ผสมกับสระ และสระผสมในกลุ่ม yi และ yu
๒.พยัญชนะกลุ่ม zh, ch, sh, r, z, c, s เมื่อผสมสระอื่น ให้ตัด i ออก แทนเสียง ,,,ยร,จ,ช,ซ ตามลำดับ



















๒.สระ ๑๔ เสียง
สัญลักษณ์เสียงแทนเสียง
aอา-า
oออ-อ
eเออเ-อ
êเอเ-
aiไอไ-
eiเอย(เอ+อี)เ-ย
aoอาว-าว
ouโอวโ-ว
anอาน-าน
enเอินเ-ิน
angอาง-าง
engเอิงเ-ิง
erเอ๋อ(กระดกลิ้น)เออร์
หมายเหตุ
er เมื่อออกเสียงเบา จะลดรูปเป็น r เช่น
na + er = nar ออกเสียง นาร์(นา+เออ,กระดกลิ้น)
kuai + er = kuir ออกเสียง ไควร์(ไคว+เออ,กระดกลิ้น)
kong + er = kongr ออกเสียง คงร์(คง+เออ,กระดกลิ้น)














๓.พยัญชนะกึ่งสระ ๓ เสียง
สัญลักษณ์เสียงแทนเสียงเมื่อเป็นสระตาม

เปลี่ยนรูปเป็น
yiอีอีi-ี
wuอูอูu-ู
yuอวี(อี+วี)อวีü-วี
หมายเหตุ
ü เมื่อเป็นสระของพยัญชนะกลุ่ม j q x จะเปลียนรูปเป็น u เช่น
j + ü = ju



























๔.สระผสม ๒๐ เสียง
การผสมสัญลักษณ์เสียงเมื่อเป็นสระตาม
yi+ayaเอีย(อี+ยา)iaเ-ีย
yi+êyeเอีย(อี+เย)ieเ-ี
yi+aoyaoเอียว(ยาว)iaoเ-ียว
yi+ouyouอิว(โยว)iu-ิว
yi+anyanเอียน(อี+ยาน)ianเ-ียน
yi+enyinอินin-ิน
yi+angyangเอียง(อี+ยาง)iangเ-ียง
yi+engyingอิงing-ิง
wu+awaวาua-วา
wu+owoวอuo-วอ
wu+aiwaiไวuaiไ-ว
wu+eiweiเวยui-ุย
wu+anwanวานuan-วาน
wu+enwenเวินun-ุน
wu+angwangวางuang-วาง
wu+engwengเวิงongโ-ง
yu+êyueเอวีย(วี+เอ)üeเ-วี
yu+anyuanเอวียน(วี+อาน)üanเ-วียน
yu+enyunอวินün-วิน
yu+engyongโยงiongโ-วง










๕.วรรณยุกต์
เสียงที่ ๑ ใช้สัญลักษณ์ ˉ เทียบกับเสียง สามัญ เช่น ā ē ī ō ū ǖ
เสียงที่ ๒ ใช้สัญลักษณ์ ˊ เทียบกับเสียง จัตวา เช่น á é í ó ú ǘ
เสียงที่ ๓ ใช้สัญลักษณ์ ˇ เทียบกับเสียง เอก เช่น ǎ ě ǐ ǒ ǔ ǚ
เสียงที่ ๔ ใชัสัญลักษณ์ ˋ เทียบกับเสียง โท เช่น à è ì ò ù ǜ
เสียงที่ ๕ ไม่มีสัญลักษณ์   ออกเสียงเบา เช่น a e i o u ü
 
หลักการใส่วรรณยุกต์
ใส่บนตัวสระหลัก 6 ตัว a(อา) o(ออ) e(เออ) i(อี) u(อู) ü(อวี) เท่านั้น ถ้าในพินอินมีสระหลายตัวให้ใส่เรียงตามลำดับดังนี้ a(อา) o(ออ) e(เออ) i(อี) u(อู) ü(อวี)
เช่น สระ ie ให้ใส่วรรณยุกต์ที่ e เพราะ e มาก่อน
ยกเว้น ในเวลาที่สระ i(อี) u(อู) อยู่ด้วยกัน คือ ให้ใส่วรรณยุกต์ไว้ที่ตัวหลังเท่านั้น ไม่ว่าตัวใดจะอยู่หน้าหรือหลัง


* เสียงที่ ๓ สองพยางค์ติดกัน พยางค์หน้าให้อ่านออกเสียงเป็นเีสียงที่ ๒ เช่น
     nǐhǎo ให้อ่านเป็น หนีห่าว
**เมื่อไม่ใส่วรรณยุกต์ ให้ออกเสียงเบา เช่น
     dìdi ให้อ่านเป็น ตี้ติ
     māma ให้อ่านเป็น มาหมะ

























๖.การสะกด
 m + a = ma
 มอ  อา   มามาหมาหม่าม่า
 
  d + a = da
 เตอ อา   ตา
ตาต๋าต่าต้า
 
  d + i = di
 เตอ  อี   ตี
ตีตี๋ตี่ตี้
 
  j + i = ji
  จี   อี    จี
จีจี๋จี่จี้
 
  zh + ai = zhai  zhāizháizhǎizhài
 จือ   อาย   าย  ายจ๋ายจ่ายจ้าย
 
  c + ai = caicāicáicǎicài
 ชือ  อาย   ชาย
ชายฉายฉ่ายช่าย


อ้างอิง:
* แสงตะวัน ชุมชาต. สื่อสารจีนกลางอย่างง่ายๆ. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร: ต้นธรรม,-.
* http://th.wikipedia.org/wiki/พินอิน


ที่มา: http://sites.google.com/site/gradadtod/pinyin