Overdrive ใช้ตอนไหนถึงจะดี

ความหมายจริง ๆ ของคำว่า “Overdrive Ratio” คือ อัตราทดเฟืองเกียร์ที่ทำให้เพลากลาง หมุนได้เร็วกว่าเพลาขับตัวเมนของเกียร์ จึงช่วยให้ใช้รอบเครื่องต่ำลงและรถวิ่งเร็วขึ้น ซึ่งตามความหมายนี้ ก็พอจะถือได้ว่าเฟืองเกียร์ ที่มีอัตราทดต่ำว่า 1 นั้นเป็นเกียร์ Overdrive ส่วนผลงานจะเป็นอย่างไร ได้ผลมากน้อยขนาดไหน ก็จะต้องขึ้นอยู่กับกำลังเครื่อง อัตราทดเฟืองท้าย เส้นรอบวงยาง น้ำหนัก และรูปทรงของรถ

จุดประสงค์หลักของการใช้งานเกียร์ Overdrive คือ ช่วยลดรอบเครื่องยนต์ให้ทำงานน้อยลงกว่าเกียร์อัตราทดปรกติ เมื่อขับเคลื่อนที่ความเร็วเท่า ๆ กัน เพื่อเป็นการลดความสึกหรอและมีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงน้อยลง อย่างเช่นในเกียร์ 4 ที่มีอัตราทดเกียร์ 1.000 เมื่อวิ่งด้วยความเร็ว 100 กม./ชม. จะใช้รอบเครื่อง 3,400 รอบ/นาที แต่พอใช้เกียร์ 5 ที่มีอัตราทดเพียง 0.850 ที่ความเร็ว 100 กม./ชม. เท่ากัน ก็อาจจะใช้รอบเครื่องยนต์เพียงแค่ 2,800 รอบ/นาที ย่อมมีการสึกหรอและสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงน้อยกว่าเครื ่องยนต์ที่ทำงาน 3,400 รอบ/นาที แต่นั่นหมายถึงว่าเราจะต้องวิ่ง ด้วยความเร็วคงที่ เพราะถ้ามีการเร่งแซงและเปลี่ยนแปลงความเร็วบ่อย ๆ ก็ไม่แน่เหมือนกันว่าเกียร์ 5 หรือเกียร์ Overdrive จะสร้างความประหยัดให้เสมอไป เนื่องจากเกียร์ 5 จะมีอัตราเร่งน้อยกว่าเกียร์ 4 ดังนั้นเมื่อมีการเร่งแซง คนขับจึงต้องกดคันเร่งลึกและนานกว่าเพื่อเรียกแรงม้า ออกมาใช้งาน

ใช้ให้ถูกวิธี
ในการใช้เกียร์ Overdrive ให้ได้ผลเต็มที่นั้น ประการแรก คือ ต้องใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพการจราจร เช่น การขับขี่ในเมืองที่ใช้ความเร็วต่ำ มีการเร่งและหยุดบ่อย ๆ แบบนี้ไม่ควรใช้ ถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติที่มีปุ่มเปิด-ปิดให้ใช้จังหวะ OD Off จนกระทั่งเจอทางโล่ง สามารถใช้ความเร็วได้เกินกว่า 60-80 กม./ชม. (ขึ้นอยู่กับกำลังเครื่องยนต์) จึงค่อยกดสวิตช์ OD On เพื่อให้เกียร์เปลี่ยนเป็น Overdrive
รถเกียร์อัตโนมัติที่มีเกียร์ Overdrive จะพยายามอยู่ในตำแหน่งเกียร์สูงสุดเท่าที่จะสามารถทำ ได้ รถบางรุ่นขนาดคลาน ด้วยความเร็ว 40 กม./ชม. ยังไม่ยอมเปลี่ยนเป็นเกียร์ต่ำเลยก็มี แบบนี้นอกจากทำให้แรงบิด เปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้นแล้ว แทนที่จะเกิดความประหยัดตามความมุ่งหมาย หรือพวกรถเกียร์ธรรมดา เมื่อใช้เกียร์ Overdrive ในการขับขี่ที่ความเร็วต่ำมาก ๆ จะไม่มีผลเฉพาะอัตราเร่งกับอัตราสิ้นเปลืองเท่านั้นยังทำให้ชุดขับเคลื่อนและระบบส่งกำลังตลอดจนเครื่องยนต์เกิดชำรุดเสียหาย ได้อีกด้วย

ใช้ในการแซง
เมื่อขับอยู่ในช่วงความเร็วประมาณ 60-100 กม./ชม. โดยขับเคลื่อนอยู่ในจังหวะเกียร์ Overdrive และมีความต้องการ แซงรถคันข้างหน้าแบบไม่รีบร้อนเร่งด่วนอะไรมากนัก ควรกดสวิตช์เป็น OD Off เพื่อเปลี่ยนเกียร์ลงมาเป็นเกียร์ต่ำก่อน แล้วกดคันเร่ง (เบา ๆ ) เพิ่มกำลังเครื่องแซงขึ้นไป พอพ้นหรือหมดความจำเป็นแล้วจึงค่อยกดสวิตช์เปลี่ยนกล ับมาเป็น OD On ตามเดิม วิธีนี้จะรวดเร็วและประหยัดกว่าการเร่งแซงทั้ง ๆ ที่ยังอยู่ในเกียร์ Overdrive ซึ่งจะอืดอาดใช้เวลาในการแซง นานกว่า วิธีนี้จะทำให้การแซงนิ่มนวลกว่าการกดคันเร่งลึกให้เ กียร์คิกดาวน์ เปลี่ยนกลับเป็นเกียร์ต่ำ เพราะการคิกดาวน์นั้น เครื่องยนต์จะมีรอบสูง อัตราเร่งรุนแรง กระชากกระชั้นเกินความจำเป็น ซึ่งจะนำไปสู่การสึกหรอ และการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง โดยเปล่าประโยชน์

Overdrive ในที่คับขัน
พวกเกียร์ Overdrive มีอัตราทดเกียร์ต่ำ ทำให้เครื่องยนต์ไม่มีเอนจิ้นเบรก ดังนั้นในการเบรกจะใช้ระยะเบรกยาว กว่าปรกติ ด้วยเหตุนี้เพื่อความปลอดภัยและช่วยให้ใช้ระยะในการเบรกสั้นลง เวลาที่ขับรถในจุดคับขัน เช่น ขับรถลงทางลาด ลงสะพาน หรืออยู่ในจุดบอด ไม่เห็นทางข้างหน้า ควรจะเปลี่ยนกลับมาใช้เกียร์ต่ำ โดยกดสวิตช์เป็นตำแหน่ง OD Off อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงอาจเพิ่มขึ้นอีกครั้งละ 10-20 สตางค์ แต่ขอให้นึกเทียบกับค่าซ่อมรถเนื่องจากไปสะกิดบั้นท้าย คันอื่นแล้วจะรู้สึกว่าคุ้มกว่ากันเยอะ โดยเฉพาะรถที่ใช้ระบบเบรก ABS ซึ่งปรกติระยะเบรกจะยาวกว่ารถที่ไม่มี ABS อยู่แล้ว มาผสมโรงกับจังหวะเกียร์ Overdrive อีกก็จะไปกันใหญ่ เบรกกันไม่ค่อยทัน ในบางครั้งเราจึงควรกดสวิตช์เป็น OD Off ให้ลดลงมาเป็นเกียร์ต่ำเพื่อใช้เอนจิ้นเบรกมาช่วยลดความเร็วของรถด้วยอีกทางหนึ่ง

ทำนองเดียวกัน เวลาขับรถเข้าโค้งด้วยความเร็ว ถ้าเรากดสวิตช์เป็น OD Off ลดเกียร์ลง จะเกิดเอนจิ้นเบรกช่วยให้ การทรงตัวของรถดีขึ้น สร้างความมั่นใจได้มากกว่า อีกทั้งยังสามารถเร่งเครื่องพาตัวรถออกจากโค้งได้รวด เร็วกว่าอีกด้วย การลดเกียร์ลงมาจะให้ความปลอดภัยได้เหนือกว่า หรือหากไปเจอเหตุกะทันหันกลางโค้งก็จะสามารถเบรกชะลอ รถ และเร่งส่งบังคับควบคุมรถได้ง่ายขึ้น

ได้ทำความรู้จักกับ Overdrive เรียบร้อยแล้ว หากใครที่ยังขับรถอย่างเดิมอยู่ จะเปลี่ยนมาใช้วิธีนี้ก็ไม่ว่ากัน เพราะจะเป็นการช่วยประหยัดน้ำมันขึ้นอีกโข ที่สำคัญยังเหลือเงินให้ไปจับจ่ายใช้สอยอย่างอื่นได้ อีก

ที่มา: นิตยสาร รถวันนี้ ปีที่ 8 ฉบับที่ 358